Mutoon V. 2.5

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
อ่านสปอยล์ไม่ชัดอย่าเพิ่งเอะไปครับให้ คลิกขวาแล้วเลือก View Image ดูครับ เห็นชัดเจนตามภาพต้นฉบับแน่นอน...
ยินดีต้อนรับสู่ Mutoon Ver.2.5 สมัครสมาชิกและ Log in ให้เรียบร้อยนะครับเพื่อจะได้ไม่มีโฆษณา
อย่าทำตัวป่วนบอร์ด และปั่นกระทู้ ดับเบิ้ลโพสต์(โพสต์ติดกัน2อัน) มีโทษถึงแบน ตอนนี้โดนแล้ว1คน
เปิดรับบริจาคเงิน เพื่อจดโดเมน.com ครับ เป้าหมายที่ 20 $ ครับ รายละเอียดคลิกที่นี่
ตอนนี้ ทุกคนจะเห็นเหรียญประจำตัวสำหรับคนที่ไม่ได้ซื้อเป็นรูปลูกไก่นะครับ(สำหรับคนที่ไม่ได้ซื้อรูปอื่น)
ตอนนี้เปลีี่ยน Emoticon ในบอร์ดใหม่หมดแล้วนะครับ อันเก่าไม่รู้มันหายไปไหน

    25 ปี อิโมติคอน สัญลักษณ์อารมณ์แห่งโลกยุคดิจิตอล

    zzzmlaP
    zzzmlaP
    Mutoon writer
    Mutoon writer


    โพสต์ทั้งหมด : 223
    ชื่อเล่น : Meylie
    เผ่า : กึ่งเทพ
    เข้าร่วม : 10/02/2009
    Mu Point : 1471
    H.P. :
    25 ปี อิโมติคอน สัญลักษณ์อารมณ์แห่งโลกยุคดิจิตอล Left_bar_bleue100 / 100100 / 10025 ปี อิโมติคอน สัญลักษณ์อารมณ์แห่งโลกยุคดิจิตอล Right_bar_bleue
    25 ปี อิโมติคอน สัญลักษณ์อารมณ์แห่งโลกยุคดิจิตอล B8v75

    25 ปี อิโมติคอน สัญลักษณ์อารมณ์แห่งโลกยุคดิจิตอล Empty 25 ปี อิโมติคอน สัญลักษณ์อารมณ์แห่งโลกยุคดิจิตอล

    ตั้งหัวข้อ by zzzmlaP Mon May 11, 2009 4:07 pm

    25 ปี อิโมติคอน สัญลักษณ์อารมณ์แห่งโลกยุคดิจิตอล Detail_images


    เมื่อ
    25 ปีที่แล้ว ":-)" ถือกำเนิดขึ้นมาในโลกคอมพิวเตอร์ จากการสร้างสรรค์ของ
    "ศ.สก็อต อี. ฟาห์ลแมน" อาจารย์จาก "คาร์เนกี เมลลอน ยูนิเวอร์ซิตี้"

    "สไมลี่เฟซ"

    เกิดขึ้นเมื่อเวลา 11.44 น. ของวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2525
    เป็นสัญลักษณ์แสดงสีหน้าที่กำลังมีความสุขของศ.ฟาห์ลแมน
    ขณะส่งข้อความไปยังบุลเลทินบอร์ด โดยขณะนั้น
    อาจารย์กำลังคุยถึงข้อจำกัดถึงเรื่องตลกที่ส่งกันในคอมพิวเตอร์

    นักภาษาศาสตร์ กล่าวว่า "อีโมชีคอน หรือ อีโมติคอน" หรือสัญลักษณ์แสดงอารมณ์ เกิดจากคำ 2 คำคือ "Emotion" และ "Icon" อย่างอีโมติคอน "สไมลี่เฟซ" ทำให้ผู้ส่งสารแสดงอารมณ์ที่รู้สึกขณะนั้นให้ผู้รับสารรับทราบ มิฉะนั้น ผู้รับสารอาจจะไม่เข้าใจอารมณ์ในข้อความนั้น

    "อีโมติคอน" นั้น ที่จริงแล้วต้องอ่านว่า "อีโมชีคอน" แต่เนื่องจากการอ่านแบบผิดๆ ได้แพร่ไปทั่วโลก ทำให้คำว่า "อีโมติคอน" ได้รับความนิยมมากกว่า

    สำหรับประโยคที่ศ.ฟาห์ลแมนใช้ "สไมลี่เฟซ" เป็นครั้งแรกมีว่า "ผมขอเสนอตัวอักษรต่อไปนี้เพื่อเป็นเครื่องหมายขำขัน แบบนี้นะครับ :-) กรุณาอ่านเอียงข้างนะครับ"

    "
    สไมลี่เฟซ" เริ่มต้นใช้ระหว่างอาจารย์ที่คาร์เนกีเมลลอน
    จากนั้นจึงลามไปที่มหาวิทยาลัยอื่น
    จนกลายเป็นสัญลักษณ์ที่รู้จักกันทั่วโลก ซึ่งปัจจุบัน "อีโมติคอน"
    เพิ่มจาก 1 ตัว เป็นหลายร้อยตัว แสดงอารมณ์ต่างๆ นานา เช่น อาย โกรธ
    ไม่พอใจ ขำก๊าก เบื่อหน่าย

    "เอมี่ ไวน์เบิร์ก" นักภาษาศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ จาก "ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ แมรี่แลนด์" มีความเห็นว่า "อีโมติคอน" อย่าง "สไมลี่เฟซ" ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในหมู่นักวิชาการ ธุรกิจ และผู้ที่สื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ มี
    ความหมายถึงการเย้าแหย่กันเล่นๆ เช่นประโยคที่ว่า "ฉันรักเจ้านาย"
    จะเป็นประโยคที่แตกต่างกับ "ฉันรักเจ้านาย :-)" ทันที
    เพราะประโยคหลังหมายถึง ล้อเล่น อย่าไปคิดเป็นจริงเป็นจัง
    ไม่เหมือนกับประโยคแรก ที่ไม่ทราบว่า ผู้ส่งข้อความคิดอย่างไรกันแน่

    ด้าน
    ศ.คลิฟฟอร์ด แนส อาจารย์ด้านการสื่อสาร จาก "สแตนฟอร์ด ยูนิเวอร์ซิตี้"
    กล่าวว่า ตามปกติแล้ว โทนเสียงจะแสดงถึงอารมณ์ของผู้พูด
    แต่เมื่ออ่านข้อความในคอมพิวเตอร์ เราจะไม่ได้ระบบเสียงของผู้ส่งสาร
    ทำให้ยากที่จะคาดเดาอารมณ์ การใส่ "อีโมติคอน"
    จึงเป็นการเปิดโอกาสให้เรารับทราบอารมณ์ที่แท้จริงของข้อความนั้นๆ

      เวลาขณะนี้ Thu Mar 28, 2024 3:25 pm